รูปแบบอุปกรณ์การเล่นระดับมาตรฐาน
อุปกรณ์ ที่ใช้ในการแทงสนุกเกอร์นั้น จำเป็นอย่างมากที่นักเล่น หรือ ตัวผู้เล่นเอง ควรต้องศึกษาการใช้ตัวอุปกรณ์ต่าง ๆ แม้กระทั่ง กฎกติกา อย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็น ไม้แทงสนุก โต๊ะต่าง ๆ แม้กระทั้งลูกสนุกทุกอย่างจะต้องเป็นมาตราฐานเพื่อไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้เล่นอื่น หรือว่า เป็นการโกงนั้นเอง แต่สำหรับมือใหม่ที่กำลังมองหาค่ามาตรฐานของอุปกรณ์อยู่ละก็ ทุกท่านสามารถศึกษาได้เลย เราได้นำมาเปิดเผยเพื่อเป็นข้อมูลให้นักเล่นที่อย่างจะอัพขั้นตัวเองไปเป็นเซียนจะมีอะไรบ้าง มาดูกัน!!
1. โต๊ะมาตรฐาน (Standard Table)
ขนาดพื้นที่สำหรับใช้ในการเล่น วัดจากขอบผิวของยางรอบโต๊ะ จะต้องมีขนาด 11 ฟุต 8 1/2 นิ้ว X 5 ฟุต 10 นิ้ว (3,596 มม. X 1,778 มม.) โดยมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน ±1/2 นิ้วหรือ (±13 มม.)
ความสูงของโต๊ะ วัดจากพื้นห้องถึงขอบผิวของยางรอบโต๊ะ จะต้องอยู่ระหว่าง 2 ฟุต 9 1/2 นิ้ว – 2 ฟุต 10 1/2 นิ้ว (851 มม. – 876 มม.)
2. หลุม และ ขนาดหลุม
- โต๊ะจะมีหลุมตามมุม 2 หลุม ทางด้าน จุดสปอต ซึ่งเรียกว่า หลุมบน และอีก 2 หลุมทางด้านในเมือง ซึ่งเรียกว่า หลุมล่าง และมีหลุมที่กึ่งกลางด้านยาวของโต๊ะอีกข้างละ 1 หลุม ซึ่งเรียกว่า หลุมกลาง
- ขนาดต่างๆ ของหลุม จะต้องเป็นไปตามแม่แบบ ซึ่งได้รับการรับรองจากสมาคมบิลเลียด และสนุกเกอร์อาชีพโลก (WPBSA)
3. เส้นเมือง และในเมือง
เส้นตรงซึ่งลากห่างจากขอบ และขนานกับยางรอบโต๊ะล่าง 29 นิ้ว (737 มม.) เรียกว่า เส้นเมือง และเนื้อที่ซึ่งอยู่ระหว่างเส้นกับขอบยางรอบโต๊ะล่าง เรียกว่า ในเมือง
4. ครึ่งวงกลม (ตัว D)
ครึ่งวงกลม หรือตัว D ซึ่งเขียนไว้ ในเมือง จะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่กึ่งกลางของ เส้นเมือง และมีรัศมี 11 1/2 นิ้ว (292 มม.)
5. จุดต่าง ๆ
จุดต่างๆ มีการกำหนดไว้ 4 จุด โดยตั้งอยู่บนแนวกึ่งกลางของโต๊ะตามทางยาว คือ
- จุดสปอต ห่างจากขอบด้านในของยางรอบโต๊ะบน 12 3/4 นิ้ว (324 มม.)
- จุดเซ็นเตอร์ ตั้งอยู่ที่จุดกึ่งกลางระหว่างขอบยางรอบโต๊ะบนกับขอบยางรอบโต๊ะล่าง
- จุดพีระมิด ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง จุดเซ็นเตอร์ กับขอบยางรอบโต๊ะบน
- จุดกลางของเส้นเมือง
6. ลูกสนุกเกอร์
- ลูกต่างๆ จะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 52.5 มม. โดยมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 0.05 มม. ลูกจะต้องมีน้ำหนักเท่ากัน คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 0.5 กรัมต่อ 1 ชุด
- ลูกใดลูกหนึ่ง หรือทั้งชุด อาจให้เปลี่ยนได้ โดยความเห็นชอบจากผู้เล่นร่วมกันหรือจากดุลยพินิจของผู้ตัดสิน
7. ผ้าสักหลาด
ผ้าสักหลาดที่ใช้ปูโต๊ะสนุกเกอร์ ผ้าสักหลาดที่ใช้ปูโต๊ะสนุกเกอร์ส่วนใหญ่นั้นเรามักจะนิยมใช้เป็นสีเขียวกัน โดยปูผ้าเพื่อช่วยทำให้ลูกสนุกเกอร์สามารถไหลหรือวิ่งไปบนโต๊ะได้ดีขึ้นนั่นเอง
8. ไม้คิว
ไม้คิวที่ใช้ในการเล่น ต้องมีความยาวไม่ต่ำกว่า 3 ฟุต (914 มม.) และรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปต้องไม่แตกต่างจากที่นิยมใช้กันอยู่ปกติ
9. หัวคิว
คือ อุปกรณ์ที่ใช้ชอล์กสำหรับฝนให้ลื่นและทำให้แทงโดนลูกสนุกเกอร์ได้ง่ายขึ้น
10. ชอล์ก
มีเอาไว้ใช้สำหรับฝนหัวไม้คิว เพื่อไม่ให้หัวไม้คิวด่านเกินไป เพราะมันจะทำให้เราแทงลูกสนุกเกอร์ได้ยากขึ้นนั่นเอง
11. สามเหลี่ยม
อุปกรณ์ ที่ใช้สำหรับการรวมลูกสนุกเกอร์ให้อยู่ในรูปสามเหลี่ยม เพื่อใช้ตั้งลูกก่อนเริ่มการแข่งขันจริงนั่นเอง
12. ไม้เร็ท และ อุปกรณ์ที่สามารถใช้คู่กัน
เร็ทต่างๆ ขึ้นอยู่กับความยาว, ตัวต่อ และตัวปรับระยะที่อาจนำมาใช้ เมื่อผู้เล่นไม่สะดวกในการแทง โดยทั่วไปจะเป็นอุปกรณ์ที่ประจำอยู่ตามโต๊ะ ทั้งนี้ รวมไปถึงอุปกรณ์ที่ผู้ตัดสินหรือผู้เล่นนำเข้ามาใช้ อุปกรณ์ตัวต่อ, ตัวปรับระยะ หรือสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ เพื่อใช้ประกอบการแทง จะต้องได้รับการรับรองโดย WPBSA และอุปกรณ์เสริมของไม้เร็ทที่สามารถใช้ได้แบ่งได้ดังนี้
- ฮุกเร็ท จะมีลักษณะเหมือนกับไม้เร็ท แต่จะต่างกันตรงที่ปลายหัวไม้จะมีตะขอเป็นโลหะ ซึ่งจะมีหน้าที่ในการช่วยแทงลูกสนุกเกอร์เหมือนกับไม้เร็ท
- ม้ต่อ เป็นกระบองไม้สั้น ๆ ที่มีเอาไว้สำหรับการต่อไม้คิวให้ยาวขึ้น เพื่อใช้สำหรับแทงลูกสนุกเกอร์ที่อยู่ในระยะที่เราเอื้อมมือหรือไม้คิวไปไม่ถึง
- ไม้สไปเดอร์ จะมีลักษณะที่คล้ายกับไม้เร็ท แต่จะมีหัวเป็นรูปซุ้มประตู โดยจะนำมาใช้ก็เมื่อผู้เล่นต้องการแทงลูกสนุกเกอร์ในระยะที่เอื้อมมือไม่ถึง
- ไม้ฮาล์ฟบัตต์ เป็นไม้ยาวที่มักจะใช้คู่กับไม้เร็ทสำหรับการแทงลูกสนุกเกอร์ โดยจะใช้แทนไม้คิวธรรมดาที่ผู้เล่นไม่สามารถแทงลูกสนุกเกอร์ได้ในระยะไกล